Monday, November 19, 2007

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา

ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา




















๏ น้อมเกล้าพระราชา ผองไทยประชาชาติ




๏ อ้าองค์พระภูมี ไพร่ฟ้าประชาคม




๏ ด้วยทรงพระเมตตา กลางทรวงประชาไทย




พระบิดามหาราช สดุดีและชื่นชม สิริศรีสง่าสม




ดุจซ้องพระทรงชัย กรุณาและโยงใย ธ สถิตนิรันดร ๚





ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


ข้าพระพุทธเจ้า





ประวัติ

• พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงมีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
• พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร- รามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษาเศษ
• ทรงเสด็จขึ้นสู่พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถและหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต่อมาวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นสู่พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเปล่งพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” หลังจากนั้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
• พระราชพิธีบรรพชาอุปสมบทของในหลวง จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ทรงลาพระผนวชเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ รวมระยะเวลาที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วัน
• พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระปรมาภิไธย (ในพระสุพรรณบัฏ) ดังนี้คือ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมราชาธิราช
• ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช นับตั้งแต่ได้เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งในเมืองและชนบท ทั้งในป่าลึกและยอดเขา ไม่ว่าจะเป็นที่ทุรกันดารเพียงใดหากที่นั้นมีพสกนิกรอยู่แล้ว พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินถึงทุกแห่ง
ในการเสด็จพระราชดำเนินทุกครั้ง พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพและแผนที่ ทรงถ่ายภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรในทุกพื้นที่และทุกภูมิภาค ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของราษฎรเหล่านั้นโดยถ่องแท้ พระองค์จึงทรงพระราชทานพระราชดำริตั้งโครงการต่างๆ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาประเทศที่รัฐบาลทำอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ด้วยหลักการให้ประชาชนมีส่วนได้รู้จักช่วยเหลือตนเอง ทวยราษฎร์ซาบซึ้งใจ ... ด้วย “น้ำพระทัยจากในหลวง”